วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)
             เป็นกระบวนการสำคัญที่พืชสีเขียว ซึ่งมีรงควัตถุพวกคลอโรฟิลล์เป็นตัวนำพลังงานแสงเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างอาหารจากโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ไปเป็นคาร์โบไฮเดรตคือน้ำตาลหรือแป้ง รวมทั้งการปลดปล่อยออกซิเจนออกมา ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. ปัจจัยเกี่ยวกับพืช 
              หมายถึง ชนิดของพืช สภาพทางสรีรวิทยาของพืช เช่น ในใบพืชที่อ่อนหรือแก่เกินไปพบว่าความสามารถในการสังเคราะห์แสงต่ำ ใบที่อ่อนเกินไปการพัฒนาของคลอโรฟิลล์ยังไม่เต็มที่ ส่วนใบที่แก่เกินไปจะมีการสลายตัวของรงควัตถุในคลอโรพลาสต์ การสูญเสียโครงสร้างที่สำคัญนี้มีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง


                                         ภาพที่  1  การสังเคราะห์แสง
                                         ที่มา : https://www.google.co.th/?

2. ปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่
    2.1 แสง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะการสังเคราะห์แสงเป็นการใช้พลังงานจากแสงมาสร้างเป็นอาหาร และเก็บสะสมพลังงานนั้นไว้ในอาหารที่สร้างขึ้น พลังงานธรรมชาติที่พืชได้รับคือพลังงานจากแสงแดด เราอาจใช้แสงจากไฟฟ้าหรือตะเกียงก็ได้ แต่สู้แสงแดดไม่ได้ พืชแต่ละชนิดมีความต้องการความเข้มของแสงไม่เท่ากัน ถ้าความเข้มของแสงมากเกินจุดอิ่มตัวแสง อาจทำให้ใบไหม้เกรียมตายได้ ถ้าปริมาณความเข้มของแสงต่ำ พืชก็จะมีอัตราการสังเคราะห์แสงต่ำ แต่พืชไม่สามารถลดอัตราการหายใจให้ต่ำลงไปด้วย จะทำให้พืชไม่เจริญและตายได้ในที่สุด
    2.2 อุณหภูมิ พืชแต่ละชนิดมีช่วงอุณหภูมิในการสังเคราะห์ที่ต่างกันตั้งแต่ 5-40 องศาเซลเซียส พืชเขตร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงที่ค่อนข้างสูง ส่วนพืชเขตอบอุ่นหรือเขตหนาวจะทำการสังเคราะห์แสงได้ดีในอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ในปฏิกิริยา
    2.3 ปริมาณก๊าซในบรรยากาศ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ในสภาพที่มีแสงและอุณหภูมิพอเหมาะอัตราการสังเคราะห์แสงจะขึ้นกับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าเพิ่มปริมาณความ
เข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ให้สูงขึ้น จะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัว พืชจะไม่เพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงอีก
    2.4 ธาตุอาหาร การขาดธาตุอาหารมีผลต่ออัตราการ
สังเคราะห์ด้วยแสงทั้งทางตรงและทางอ้อม แมกนีเซียมและไนโตรเจน เป็นธาตุที่สำคัญในองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์การขาดสารเหล่านี้ทำให้พืชมีอาการใบเหลืองซีดที่เรียกว่า คลอโรซิส เนื่องจากใบขาดคลอโรฟิลล์
    2.5 ปริมาณน้ำที่พืชได้รับ น้ำเป็นแหล่งของอิเล็กตรอนที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงเมื่อพืชขาดน้ำอัตราการสังเคราะห์แสงจะลดลงนอกจากนี้น้ำมีผลต่อการปิด
เปิด ของปากใบ ซึ่งมีผลกระทบต่อการแพร่กระจายของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในใบ ถ้าสภาพขาดน้ำปากใบจะปิดเพื่อลดการคาย
น้ำ ทำให้ขาดแคลนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสง

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthetic Process)
การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการที่พืชสีเขียวใช้พลังงานแสงเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี โดยมีน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ ปฏิกิริยาของการสังเคราะห์แสงเขียนสรุปได้ดังนี้
แสง
6CO2 + 12H2O ===> C6H12O6 + 6H2O + 6O2
คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ น้ำตาล น้ำ ออกซิเจน
ผลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงนอกจากออกซิเจนแล้ว จะได้คาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลที่มีคาร์บอน 6 อะตอม คือกลูโคส, น้ำ และพลังงานที่สะสมในรูปสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะนำไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึม เพื่อสร้างสารประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ อาหารที่พืชสร้างขึ้นมานี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตเองแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวลที่ไม่สามารถสร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์แสง ตลอดทั้งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึมต่าง ๆ และการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์ด้วย ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์แสงของพืชจะเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
             ภาพที่  2  ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
ที่มา : https://www.google.co.th/?
ความเข้มของแสง
ถ้ามีความเข้มของแสงมาก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อุณหภูมิกับความเข้มของแสง มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงร่วมกัน คือ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ความเข้มของแสงน้อยจะไม่ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขีดหนึ่งแล้วอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามอุณหภูมิและความเข้มของแสงที่เพิ่มขึ้น
โดยปกติ ถ้าไม่คิดถึงปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชส่วนใหญ่จะเพิ่มมากขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในช่วง 0-35 °C หรือ 0-40 °C ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ควบคุม และการทำงานของเอนไซม์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ดังนั้น เรื่องของอุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์กับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์โมเคมิคัล
ถ้าความเข้มของแสงน้อยมาก จนทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นน้อยกว่ากระบวนการหายใจ น้ำตาลถูกใช้หมดไป พืชจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความยาวคลื่น (คุณภาพ) ของแสง และช่วงเวลาที่ได้รับ เช่น ถ้าพืชได้รับแสงนานจะมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดีขึ้น แต่ถ้าพืชได้แสงที่มีความเข้มมากๆ ในเวลานานเกินไป จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงชะงัก หรือหยุดลงได้ทั้งนี้เพราะคลอโรฟิลล์ถูกกระตุ้นมากเกินไป ออกซิเจนที่เกิดขึ้นแทนที่จะออกสู่บรรยากาศภายนอก พืชกลับนำไปออกซิไดส์ส่วนประกอบและสารอาหารต่างๆภายในเซลล์ รวมทั้งคลอฟิลล์ทำให้สีของคลอโรฟิลล์จางลง ประสิทธิภาพของคลอโรฟิลล์และเอนไซม์เสื่อมลง ทำให้การสร้างน้ำตาลลดลง

ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์
ถ้าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้นจากระดับปกติที่มีในอากาศ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนถึงระดับหนึ่งถึงแม้ว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้น แต่อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย และถ้าหากว่าพืชได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีความเข้มข้นสูงกว่าระดับน้ำแล้วเป็นเวลานานๆ จะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดต่ำลงได้ ดังกราฟ
คาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างอื่นด้วย เช่น ความเข้มข้นสูงขึ้น แต่ความเข้มของแสงน้อย และอุณหภูมิของอากาศก็ต่ำ กรณีเช่นนี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าคาร์บอนไดออกไซด์มีความเข้มข้นสูงขึ้น ความเข้มของแสงและอุณหภูมิของอากาศก็เพิ่มขึ้น กรณีเช่นนี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
นักชีววิทยาจึงมักเลี้ยงพืชบางชนิดไว้ในเรือนกระจกที่แสงผ่านเข้าได้มากๆ แล้วให้ คาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีผลทำให้พืชมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น อาหารเกิดมากขึ้น จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ออกดอกออกผลเร็ว และออกดอกออกผลนอกฤดูกาลก็ได้
อุณหภูมิ
อุณหภูมิ เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยทั่วไปอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น 10-35 °C ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นกว่านี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่อุณหภูมิสูงๆ ยังขึ้นอยู่กับเวลาอีกปัจจัยหนึ่งด้วย กล่าวคือ ถ้าอุณหภูมิสูงคงที่ เช่น ที่ 40 °C อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลงตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเอนไซม์ทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมืพอเหมาะ ถ้าสูงเกิน 40 °C เอนไซม์จะเสื่อมสภาพทำให้การทำงานของเอนไซม์ชะงักลง ดังนั้นอุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์ต่อการสังเคราะห์แสงด้วย เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์มอเคมิคอล (Thermochemical reaction)
ออกซิเจน
ตามปกติในอากาศจะมีปริมาณของอออกซิเจน (O2) ประมาณ 25% ซึ่งมักคงที่อยู่แล้ว จึงไม่ค่อยมีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนลดลงจะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงขึ้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ของสารต่างๆ ภายในเซลล์ โดยเป็นผลจากพลังงานแสง (Photorespiration) รุนแรงขึ้น การสังเคราะห์ด้วยแสงจึงลดลง
น้ำ
น้ำ ถือเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (แต่ต้องการประมาณ 1% เท่านั้น จึงไม่สำคัญมากนักเพราะพืชมีน้ำอยู่ภายในเซลล์อย่างเพียงพอ) อิทธิพลของน้ำมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทางอ้อม คือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
เกลือแร่
ธาตุแมกนีเซียม (Mg), และไนโตรเจน (N) ของเกลือในดิน มีความสำคัญต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เพราะธาตุดังกล่าวเป็นองค์ประกอบอยู่ในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ ดังนั้น ถ้าในดินขาดธาตุทั้งสอง พืชก็จะขาดคลอโรฟิลล์ ทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลงด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าเหล็ก (Fe) จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และสารไซโตโครม (ตัวรับและถ่ายทอดอิเล็กตรอน) ถ้าไม่มีธาตุเหล็กในดินเพียงพอ การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
อายุของใบ
ใบจะต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ทั้งนี้เพราะในใบอ่อนคลอโรฟิลล์ยังเจริญไม่เต็มที่ ส่วนใบที่แก่มากๆ คลอโรฟิลล์จะสลายตัวไปเป็นจำนวนมาก
สมการเคมีในการสังเคราะห์แสงเป็นดังนี้
สรุปสมการเคมีในการการสังเคราะห์แสงของพืชสีเขียวเป็นดังนี้ :
nCO2 + 2nH2O + พลังงานแสง (CH2O)n + nO2 + nH2O
เฮกโซส น้ำตาล และ แป้ง เป็นผลผลิตขั้นต้นดังสมการดังต่อไปนี้:
6CO2 + 12H2O + พลังงานแสง C6H12O6 + 6O2 + 6H2O

 การสังเคราะห์แสง
              เกลือเฟอริกทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจน ขณะเดียวกันจะมี ออกซิเจนเกิดขึ้นในปฏิกิริยาด้วย สารที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจน เช่น เฟอริกไซยาไนด์ และเมทีลีนบลู ในพืชสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจน คือ นิโคตินาไมด์อะดีนินไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต หรือ NADP+  ในขณะที่มีแสงคลอโรพลาสต์สามารถสร้าง ATP อย่างเดียวหรือสร้างทั้ง ATP และ NADPH + H+

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์แสง
ปฏิกิริยาที่ใช้แสง
              ปฏิกิริยาที่ใช้แสงในขณะมีแสง โมเลกุลของคลอโรฟิลล์จะรับ พลังงานไว้ทำให้ e- ในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์เคลื่อนที่หลุด ออกไปโดยมีสารเป็นตัวรับอิเลคตรอนและส่งอิเลคตรอนเป็น ทอด ๆ คลอโรพลาสต์มีกลุ่มโมเลกุลของรงควัตถุทำหน้าที่รับพลังงาน การถ่ายทอดอิเลคตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร คือ การถ่ายทอด e- ไปทางเดียว ให้ผลิตผลออกมาในขณะมีแสงแต่ไม่ย้อนกลับ การถ่ายทอดอิเลคตรอนแบบเป็นวัฏจักรคือ การถ่ายทอด e- ในลักษณะที่ย้อนกลับได้
โฟโตไลซิส (Photolysis) 
              คือ  การสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาที่ใช้แสงทั้ง ATP และ NADPH + H+ ที่เกิดขึ้นใน ปฏิกิริยาใช้แสงจะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงต่อไป ปฏิกิริยาไม่ใช้แสง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นมีลักษณะที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร เรียกว่า วัฏจักรของคัลวิน (Calvin cycle)





                                       ภาพที่  3  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในการสังเคราะห์แสง
                                       ที่มา  :  https://www.google.co.th/search?

วัฏจักรคัลวิน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
                                             ภาพที่  4  วัฎจักรเคลวิน
                                             ที่มา  :  https://www.google.co.th/search?


ปฏิกิริยาขั้นที่ 1
              สารตั้งต้นคือ RuDP รวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาร ประกอบใหม่มีคาร์บอน 6 อะตอม สารใหม่จะสลายไปเป็น PGA 2 โมเลกุล จะได้ PGA 12 โมเลกุล

ปฏิกิริยาขั้นที่ 2 
              เปลี่ยนแปลงจาก PGA จะได้ PGAL ได้รับ ไฮโดรเจนจาก NADPH + H+ และพลังงานจาก ATP PGA 12 โมเลกุล จะเปลี่ยนเป็น PGAL 12 โมเลกุล

ปฏิกิริยาขั้นที่ 3
              PGAL 10 โมเลกุล เปลี่ยนแปลงไปเป็น RuDP 6 โมเลกุล ต้องใช้พลังงานจากการสลายตัวของ ATP

แหล่งที่เกิดการสังเคราะห์แสง
              คลอโรพลาสต์ เป็นแหล่งที่เกิดการสังเคราะห์โปรตีน คลอโรพลาสต์ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น เนื้อเยื่อชั้นในจะ แผ่เข้าไปข้างใน กลายเป็นโครงสร้างย่อย ๆ ประกอบด้วยเยื่อ บาง ๆ เรียกว่าลาเมลลา (lamella) บริเวณรอบ ๆ ลาเมลลาจะมี สโตรมา(Stroma) ลาเมลลาเป็นแผ่นกลม ๆ บาง ๆ เรียงซ้อน เป็นตั้ง ๆ เรียกว่า แกรนัม (granum) และเรียกลาเมลลาแต่ละ แผ่นในแกรนัมว่า ไทลาคอยด์(thylakoid) ลาเมลลาที่เชื่อมอยู่ ระหว่าง แกรนัม เรียกว่า สโตรมาลาเมลลา โมเลกุลของสารที่ใช้ในปฏิกิริยาที่ใช้แสงจะอยู่ที่ผนังของเยื่อ หุ้มไทลาคอยด์ สโตรมาลาเมลลสและไทลาคอยด์จะมีเอนไซม์ ที่นำไปใช้ในปฏิกิริยาของวัฏจักรคัลวิน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาไม่ใช้แสง

รงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง
คลอโรฟิลล์  คลอโรฟิลล์ ทำหน้าที่ดูดพลังงานของแสงอาทิตย์
แคโรทีนอยด์  แคโรทีนอยด์ เป็นสารประกอบจำพวกไขมัน ประกอบด้วย แคโรทีน เป็นรงควัตถุสีแดง และสีส้ม อีกชนิดหนึ่งคือ แซนโทฟิลล์ เป็นรงควัตถุสีเหลืองหรือสีน้ำตาล
ไฟโคบิลิน  ไฟโคบิลิน เป็นรงควัตถุที่มีอยู่เฉพาะสาหร่ายสีแดงและสี เขียวแกมน้ำเงินประกอบด้วยรงควัตถุ 2 ชนิดคือ
              - ไฟโคอีรีทริน (Phycoerythrin) เป็นรงควัตถุสีแดง
              - ไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) เป็นรงควัตถุสีน้ำเงิน
ปฏิกิริยาเทอร์โมเคมิคัล (thermochemical reaction) คือปฏิกิริยา เคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ

                                        ภาพที่  5  รงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง
                                        ที่มา  :  https://www.google.co.th/search?

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
1. ความเข้มแสง - ถ้าความเข้มของแสงมาก อัตราการ สังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้น
2. ความเข้มของ CO2 - อัตราการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้นตาม ความเข้ม CO2 จนถึงระดับหนึ่ง แม้ความเข้ม CO2 จะเพิ่มขึ้นแต่ อัตราการสังเคราะห์แสงจะลดต่ำลง
3. อุณหภูมิ - อัตราการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูง ขึ้นโดยจะอยู่ในช่วงประมาณ 10-35 oC ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 40 oC เอนไซม์จะเสื่อมสภาพ การทำงานเอนไซม์ชะงักลงอัตรา การสังเคราะห์แสงจะลดลงตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น
4. ออกซิเจน - ปริมาณออกซิเจนลดลงจะทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น
5. น้ำ - ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
6. เกลือแร่ - ถ้าพืชขาดธาตุแมกนีเซียมและไนโตรเจน เหล็ก พืชก็จะขาดคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์แสงก็จะลดลง

การลำเลียงในพืช
              การดูดน้ำของพืช สามารถเข้าสู่เซล ขนราก และเซลต่อ ๆ ไปโดยกระบวนการออสโมซิส ปลายรากจะมีขนราก(root hair) ภายในเซลจะมีแวคิวโอลขนาดใหญ่ จะมีน้ำ เกลือแร่ และสารอื่น ๆ สามารถดูดซึมสารอาหารโดยการซอนไซ เข้าไปในดิน ชั้นของเนื้อเยื่อของลำต้น เรียงจากนอกสุดเข้าไปในสุด ดังนี้
1. เอพิเดอร์มิส (Epidermis) เป็นผนังเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด เซล เรียงตัวชั้นเดียว มีผนังบาง ไม่มีคลอโรพลาสต์
2. คอร์เทกซ์ (Cortex) ประกอบด้วยเซลหลายแถว มีหลายชนิด มีคลอโรฟิลล์ ชั้นของคอร์เทกซ์ในรากจะกว้างกว่าในลำต้น
3. เอนโดเดอร์มิส (Endodermis) ประกอบด้วยเซลแถวเดียว ส่วนใหญ่พบในราก
4. เพอริไซเคิล (Pericycle) ประกอบด้วย เซลเพียงหนึ่งหรือสอง แถว เป็นแหล่งที่เกิดของรากแขนง
5. วาสคิวลาร์บันเดิล ทำหน้าที่ลำเลียงในพืช ประกอบด้วย เซลอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อโฟลเอมและไซ เลม มีแคมเบียมคั่นอยู่ตรงกลางในพืชในเลี้ยงคู่ การเรียงตัวจะ กระจายในพืชใบเลี้ยงเดียว เป็นกลุ่ม ๆ เรียงเป็นวงในพืชใบ เลี้ยงคู่
6. พิท (Pith) ประกอบด้วย เซลผนังบาง ๆ คือ พาเรนไคมา (Parenchyma) กลุ่มเซลไซเลม ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ เกลือแร่ สารละลายต่าง ๆ โดยกระบวนการ Conduction ประกอบด้วยเซลหลายชนิด เช่น
- เทรคีดเซล (tracheid)
- เวสเซล (Vessel)
กลุ่มโฟเอม ประกอบด้วย
ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (Sievetube member) ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช
เซลคอมพาเนียน (Companion cell) มีหน้าที่ควบคุมการทำ งานของซีฟทิวบ์เมมเบอร์
เซลไฟเบอร์ (Fiber cell) ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงทนทานแก่พืช ซึ่งอยู่ภายในเนื้อเยื่อของโฟลเอมและไซเลม
เรย์ (Ray) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและอาหารไปด้านข้างของลำต้น
แคพิลลารีแอคชัน (Capillary action) เป็นกระบวนการ เคลื่อนที่ของน้ำในหลอดเล็ก ๆ
แอดฮีชัน (adhesion) คือแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำ และผนังด้านข้างของหลอด
การคายน้ำของพืช หมายถึงกระบวนการที่พืชกำจัดน้ำออกมาในรูปของไอน้ำซึ่งจะเกิดขึ้นที่ปากใบมากสุด เซลคุม (Guard cell) เป็นเซลมีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว จะมีเม็ดคลอ โรพลาสต์ ระหว่างเซลคุมจะมีช่องเล็ก ๆ คือปากใบ
คิวทิน (Cutin) คือสารขี้ผึ้งที่ฉาบอยู่ผิวใบของพืช
เลนทิเซล (lenticel) หมายถึงรอยแตกที่ผิวของลำต้นหรือกิ่ง ซึ่งพืชอาจสูญเสียน้ำทางเลนทิเซลได้
กัตเทชั่น (Guttation) คือกระบวนการคายน้ำของพืชในรูป ของหยดน้ำ ทางรูเล็ก ๆ คือ รูไฮดาโทด (hydathode)
ความดันราก (Root pressure) คือแรงดันที่ดันของเหลวให้ ไหลขึ้นไปตามท่อของไซเลม
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำ เรียกว่า โคฮีชัน (Cohesion) แรงดึงดูดจากการสูญเสียของน้ำของพืช เรียกว่า ทรานสปีเรชัน พลู (transpiration pull)

การลำเลียงอาหารของพืช
              การลำเลียงอาหารของพืช ลำเลียงในโฟลเอม เกิดจากความ แตกต่างของความดันเต่งภายในเซล ระหว่างเซลเริ่มต้นและเซลปลายทาง น้ำจากเซลข้างเคียงและไซเลมจะแพร่เข้าสู่เซลของใบ ทำให้ เซลที่ใบมีความดันสูง จะดันสารละลาย อาหาร ไปตามโฟลเอม จนถึงเซลต่าง ๆ เมื่อได้รับอาหารแล้ว จะมีกระบวนการเปลี่ยน แปลงสารอาหารเป็นสารอื่น ๆ ที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้เซลปลาย ทาง มีความดันออสโมซิสต่ำ ความดันเต่งต่ำ
                                               ภาพที่  6  การลำเลียงน้ำของพืช
                                               ที่มา  :  https://www.google.co.th/search?